เส้นทางเข้าสู่แหล่ง:
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 และ 2 ระยะทาง 295 กิโลเมตร จากนครราชสีมาถึงอำเภอนางรอง ระยะทางประมาณ 101 กิโลเมตร จากอำเภอนางรองมาทางบ้านตะโกตามทางหลวงหมายเลข 24 สายโชคชัย-เดชอุดม จะมีทางแยกขวามือเป็นเส้นทางสู่พนมรุ้ง เป็นถนนลาดยางระยะทาง 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางนี้จะมีถนนตัดใหม่ชื่อ หิรัณยวิถี ซึ่งเป็นถนนขึ้นสู่ยอดเขาอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง หากมาจากทางอำเภอประโคนชัย มีเส้นทางหลวงผ่านบ้านจระเข้มาก ผ่านปราสาทเมืองต่ำขึ้นสู่เขาพนมรุ้ง เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร
ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว:
รายละเอียดทางการท่องเที่ยว:
ปราสาทพนมรุ้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้ ได้แก่ โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. โทร. 044-782-715, 044-782-717
กำหนดการณ์ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้งของทุกๆปี
• ครั้งที่ 1 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลา~17.58
• ครั้งที่ 2 – พระอาทิตย์ ขึ้น 1-5 เมษายน เวลา~05.56
• ครั้งที่ 3 – พระอาทิตย์ ขึ้น 8-10 กันยายน ~05.58
• ครั้งที่ 4 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลา~17.58
โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย
งานเทศกาลที่สำคัญประจำปีของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันที่ วันที่ 3 - 5 เมษายน โดยสถานที่จัดงาน: ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมสำคัญโดดเด่น ที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่น
• การชมแสงอาทิตย์ส่องลอด 15 ประตูของปราสาทพนมรุ้ง(ดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 - 4 - 5 เมษายน เวลา 06.00 น.)
• พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย
• ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และ นางจริยา นำเครื่องบวงสรวงประกอบด้วย เทพพาหนะทั้ง 10 นางสนมกำนัล เหล่าทหาร ข้าทาสบริวาร ดำเนินผ่านเสานางเรียงประดับด้วยโคมไฟและธงทิวยิ่งใหญ่อลังการ
- การแสดง แสง เสียง ชุด "งานรมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง"
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านรับประทานอาหารแบบโฮปบายดินเนอร์
- การแสดงตลาดนัดโบราณและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์
- พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายตลอดการจัดงาน
หน่วยงานที่ดูแลรักษา:
กรมศิลปากร
รายละเอียดการขึ้นทะเบียน:
-ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3689 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เรื่อง การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
-ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 141 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2519
Credit : http://www.sac.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น