วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2560

วิหารหลวงพ่อโต พรหมรังสี อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา


วิหารหลวงพ่อโต พรหมรังสี อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

ประวัติความเป็นมาของอุทยานมหาวิหาร สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เริ่มจาก คุณสรพงศ์ 
ชาตรี เป็นพุทธมามกะ ผู้ซึ่งได้ปฎิบัติธรรมกับพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก จ.เชียงใหม่ ซึ่งพระอาจารย์ได้แนะนำคุณ สรพงศ์ ชาตรี ให้ไปอธิษฐานจิตขอพรบารมีสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)วัดระฆังฯ แล้วการงานทุกอย่างที่กังวลอยู่จะสำเร็จดังประสงค์ทุกประการ เพราะหลวงปู่โต มีลูกหลานเป็นเทพบุตรเทพธิดา จะได้พากันมากราบไหว้บูชาสักการะและช่วยให้งานนั้นๆสำเร็จดังปรารถนา คุณสรพงศ์ ชาตรีจึงได้ไปอธิษฐานจิต ขอบารมีตตามที่พระอาจารย์แนะนำ พร้อมทั้งจะจัดสร้างรูปเหมือนหลวงปู่ จึงไปปรึกษาหลวงพ่อพระครูปลัดนุตร์ รัตนวิชโย ซึ่งปฎิบัติธรรมอยู่ที่วัดปักแม่ลาย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งท่านแนะนำให้จัดสร้างรูปเหมือนองค์ใหญ่ที่สุดในโลก จึงคิดถึงพิธีการหล่อรูปเหมือนหลวงปู่โต ด้วยเหตุนี้ จึงได้ประกอบพิธีเททองหล่อส่วนองค์หลวงปู่เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓ รูปหล่อองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)หน้าตักกว้าง ๘ เมตร ๑ นิ้ว สูง ๑๓ เมตร หนัก ๖๑ ตันค่าก่อสร้าง ๙ ล้านบาทเศษ และได้จัดสร้างมหาวิหารเป็นแบบกุฎาคาร  (เรือนยอดเจดีย์เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูป)ขึ้นถวาย พร้อมทั้งซื้อที่ดินประมาณ ๑๕๐ ไร่ และจัดภูมทัศน์ส่วนต่างๆตามความเหมาะสม










การเดินทาง
วิหารหลวงพ่อโต ตั้งอยู่ริมถนนมิตรภาพฝั่งขาเข้าโคราช ในเขตอำเภอสีคิ้ว อย่างห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 45 กิโลเมตร  ถ้าเดินทางจาก กทม.ไปทางอีสาน ก่อนถึงโคราช 45 กม.ในเขต อ.สีคิ้ว ตามถนนมิตรภาพฝั่งเข้าเมืองโคราชจากกรุงเทพ พอถึง อำเถอสีคิ้ว ขับรถผ่านตัวเมืองมาประมาณ 1 กม. จะเห็นได้แต่ไกล เพราะมหาวิหารหลังใหญ่มากวิหารหลวงพ่อโต อยู่ด้านช้ายมือ         หากเดินทางมาจากโคราช ตามถนนมิตรภาพ  ต้องไปกลับรถในตัวเมืองสีคิ้วเพื่อกลับเข้าเมืองโคราชออกจากตัวเมืองประมาณ 1 กม. วิหารหลวงพ่อโตอยู่ด้านช้ายมือ

วันเสาร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2560

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง บุรีรัมย์

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง: 
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 และ 2 ระยะทาง 295 กิโลเมตร จากนครราชสีมาถึงอำเภอนางรอง ระยะทางประมาณ 101 กิโลเมตร จากอำเภอนางรองมาทางบ้านตะโกตามทางหลวงหมายเลข 24 สายโชคชัย-เดชอุดม จะมีทางแยกขวามือเป็นเส้นทางสู่พนมรุ้ง เป็นถนนลาดยางระยะทาง 12 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางนี้จะมีถนนตัดใหม่ชื่อ หิรัณยวิถี ซึ่งเป็นถนนขึ้นสู่ยอดเขาอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้ง หากมาจากทางอำเภอประโคนชัย มีเส้นทางหลวงผ่านบ้านจระเข้มาก ผ่านปราสาทเมืองต่ำขึ้นสู่เขาพนมรุ้ง เป็นระยะทาง 18 กิโลเมตร
ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว: 


รายละเอียดทางการท่องเที่ยว: 
ปราสาทพนมรุ้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.  
อัตราค่าเข้าชม : ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างประเทศ 150 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมโบราณสถานในจังหวัดบุรีรัมย์ได้  ได้แก่ โบราณสถานปราสาทเมืองต่ำ ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 150 บาท
สอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง โทร. โทร. 044-782-715, 044-782-717
กำหนดการณ์ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้งของทุกๆปี
     • ครั้งที่ 1 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลา~17.58
     • ครั้งที่ 2 – พระอาทิตย์ ขึ้น 1-5 เมษายน เวลา~05.56
     • ครั้งที่ 3 – พระอาทิตย์ ขึ้น 8-10 กันยายน ~05.58
     • ครั้งที่ 4 – พระอาทิตย์ ตก 4-6 มีนาคม เวลา~17.58
โดยปรากฏการณ์ดังกล่าว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย

งานเทศกาลที่สำคัญประจำปีของปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันที่ วันที่ 3 - 5 เมษายน โดยสถานที่จัดงาน: ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมสำคัญโดดเด่น ที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่น
• การชมแสงอาทิตย์ส่องลอด 15 ประตูของปราสาทพนมรุ้ง(ดวงอาทิตย์ขึ้น วันที่ 3 - 4 - 5 เมษายน เวลา 06.00 น.)
• พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนปราสาทพนมรุ้ง ซึ่งเป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อถวายแด่องค์พระศิวะ เทพเจ้าสูงสุดในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย
• ชมริ้วขบวนหลวงของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี และ นางจริยา นำเครื่องบวงสรวงประกอบด้วย เทพพาหนะทั้ง 10 นางสนมกำนัล เหล่าทหาร ข้าทาสบริวาร ดำเนินผ่านเสานางเรียงประดับด้วยโคมไฟและธงทิวยิ่งใหญ่อลังการ
- การแสดง แสง เสียง ชุด "งานรมยคีรีราตรีแห่งวนัมรุง"
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านรับประทานอาหารแบบโฮปบายดินเนอร์
- การแสดงตลาดนัดโบราณและสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดบุรีรัมย์
- พร้อมทั้งกิจกรรมอื่นๆอีกมากมายตลอดการจัดงาน
หน่วยงานที่ดูแลรักษา: 
กรมศิลปากร


รายละเอียดการขึ้นทะเบียน: 
-ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 3689 วันที่ 8 มีนาคม 2478 เรื่อง การกำหนดจำนวนโบราณสถานสำหรับชาติ
-ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 141 วันที่ 9 พฤศจิกายน 2519

Credit : http://www.sac.or.th



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ พนมรุ้ง 2560

โรงแรม ฮ็อป อินน์

HOP INN กระบี่ 19 ถ.ร่วมจิตร ต.ปากน้ำ อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ 81000 โทร:+66 75 620 889 โรงแรม ฮ็อป อินน์ กระบี่ ให้บริการห้องพักที่สะ...